วันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน)

รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด

Drug Free  ห่างไกล ยาเสพติด รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีนโยบาย 5 รั้วป้องกัน คือ รั้วครอบครัว  รั้วโรงเรียน รั้วชุมชน รั้วสังคม และ รั้วชายแดน ซึ่งจะต้องมีมาตรการอย่างชัดเจน      ทั้งมาตรการการป้องกันไม่ให้เด็กหันไปหายาเสพติด การป้องปราม      และปราบปราม ดังนั้นหากมีเด็กหรือบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้ค้ายาเสพติด ก็ต้องป้องปราม และหากมีผู้ติดยาเสพติดก็จำเป็นต้องมีการบำบัดรักษา โดยจะมีโครงการต่างๆ เช่น โครงการ TO BE NUMBER ONE      โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน  กิจกรรมต่างๆไม่เว้นการต่อต้านการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้ จะนำพาไปสู่การติดยาเสพติด    ในอนาคต  ไม่เฉพาะนักเรียน นักศึกษาเท่านั้น แต่อาจารย์ ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาก็จำเป็นต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก และเยาวชน

นโยบายการแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา (Drugs) 

ต้องล้อมรั้วโรงเรียน เพื่อป้องกันยาเสพติดแพร่ระบาดเข้ามาในสถานศึกษาอย่างครบวงจร โดยมีมาตรการต่างๆ ในการป้องกัน บำบัดรักษา ปราบปรามผู้ค้า ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจด้วยว่ายาเสพติดนั้นให้หมายรวมถึงบุหรี่ด้วย เพราะผลวิจัยถือว่า บุหรี่เป็นจุดเริ่มต้น      ที่จะนำไปสู่การติดยาเสพติดอื่นที่รุนแรงขึ้น จึงจำเป็นต้องสกัดเยาวชนไม่ให้สูบบุหรี่ นอกจากนี้การจะแก้ปัญหาให้ได้ผล จะต้องให้สถานศึกษาเป็นเขตปลอดบุหรี่ โดยครู ผู้บริหาร จะต้องไม่สูบบุหรี่เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็ก นอกจากนี้สถานศึกษาต้องยอมรับความจริงได้ว่าเด็กของท่านเป็นเด็กกลุ่มเสี่ยง จำนวนเท่าใด เพื่อจะได้นำไปสู่การแก้ปัญหาได้ตรงจุด

 การป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด
ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น

– ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน

-ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้

– ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำ โฆษณา

– จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน ใช้บ่อยๆ ทำให้เกิดการเสพติด ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย

1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา

2. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปใน ทางที่ไม่ดี เช่น การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด

3. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม

4. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อม ไปสู่ชีวิตของตนเอง

5.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล

6. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต

7. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น

8. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็น สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง

เยาวชนกับปัญหายาเสพติด 

เมื่อพูดถึงปัญหายาเสพติด คนส่วนใหญ่ก็มักจะมุ่งความสนใจไปที่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติด โดยเฉพาะผู้เสพยาเสพติดที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรง จึงทำให้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ครู ผู้ปกครอง องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจน สื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด โดยเฉพาะการพยายามสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชน ให้มีชีวิตที่ดีงามห่างไกลจากยาเสพติด ซึ่งต้องระมัดระวังทั้งในเรื่องของการสรรหาวิธีการและเลือกเฟ้นเนื้อหา ข้อความที่เข้าถึงเยาวชนได้ตรงจุด ทั้งนี้เพราะเด็กและเยาวชนนั้นจะมีลักษณะพิเศษ เช่น ไม่ชอบให้ใครว่ากล่าวตักเตือนตรง ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ แต่จะรับข่าวสารข้อมูลได้มากขึ้นถ้าเยาวชนด้วยกันเป็นผู้ให้ข่าวสารข้อมูล นั้น หรือตนเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

(สำนักงาน ป.ป.ส.) จึงได้จัดรายการโทรทัศน์เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชน ไทยขึ้น คือ รายการ “ฮัลโหล ไทยทีน” (HelloThai Teen) ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์เพื่อการป้องกันยาเสพติดของเยาวชน โดยเยาวชน และเพื่อเยาวชน

รายการ “ฮัลโหล ไทยทีน” เผยแพร่ออกอากาศทั่วประเทศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.02 – 18.30 น. เป็นประจํ า มีสมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนส่งข่าวสารผ่านรายการทางจดหมาย E-mail โทรศัพท์ และ วิทยุติดตามตัวเป็นจำนวนประมาณ 4,000 ราย โดยมีพิธีกรเป็นเยาวชน และเสนอกิจกรรมทางเลือกของเยาวชนที่หลากหลายทั้งในด้านกีฬา ดนตรี งานอดิเรก และการนำเสนอความคิดเห็นของเด็ก เยาวชน ในเรื่องป็ญหายาเสพติด หากจะมีแขกของรายการที่เป็นผู้ใหญ่เข้าไปร่วมรายการด้วย   ก็จะต้องปรับภาษาพูดและเนื้อหาที่นำเสนอให้เป็นเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล และพูดถึงเรื่องประสบการณ์จริงที่เยาวชนเคยพบเห็น หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน

ในการพบปะกับเยาวชนของเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(นาย สรสิทธิ์ แสงประเสริฐ) กับน้อง ๆ เยาวชน ในรายการโทรทัศน์ “ฮัลโหล ไทยทีน” แต่ ละครั้งได้นำเสนอแนวคิดที่เป็นเหตุเป็นผล และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก      และเยาวชน ซึ่งผู้เขียนมองเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเผยแพร่ในการพูดคุยเรื่องยา เสพติดกับเยาวชน ต่อไป จึงได้รวบรวม     และเรียบเรียงประเด็นหลัก ๆ ไว้ดังนี้

อิทธิพลของเพื่อน 

เพื่อนเป็นคนสำคัญของเราก็จริงอยู่ แต่ถ้าเพื่อนมีอิทธิพลต่อเราในทางที่ไม่ดี พาไปเสียผู้เสียคน ในฐานะที่เราเป็นเพื่อนก็ต้องให้สติด้วยการตักเตือน และปฏิเสธไม่ทำตามและชักจูงให้เขาได้ใช้ชีวิตที่ถูกต้องและดีงาม แต่ถ้าหากเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เหลือบ่ากว่าแรง        ก็คงต้องโบกมือลาเลิกคบเสียดีกว่า ถือคติที่ว่า “มีเพื่อนดีเพียงหนึ่ง ถึงจะต้อง ดีกว่าเพื่อนร้อยเพื่อนเลว”

ถ้าเป็นเรื่องยาเสพติด ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง 

เรื่องบางเรื่องจำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเองแล้วจึงเชื่อ แต่เรื่องยาเสพติดไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง เพราะกาลเวลาผ่านมากี่ยุค     กี่สมัย ยาเสพติดก็ยังเป็นสิ่งที่มีโทษพิษภัยต่อร่างกาย และมีผลกระทบทำลายครอบครัว ชุมชน และความมั่นคงของประเทศชาติ   หากลูกหลายจะลงทุนพิสูจน์ยาเสพติดด้วยการทดลองใช้ด้วยตนเองก็เป็นการลงทุน ที่สูงมาก ไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะยาเสพติด      มีฤทธิ์ทางเภสัช ทำให้เสพติดได้ และเลิกได้ยาก บางทีอาจสูญเสียเวลาและอนาคตกับเรื่องนี้ไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นอย่าได้คิดทดลองเลยจะดีกว่า

เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันผู้ค้ายาเสพติด 

เยาวชนส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน มีเงินอยู่ในกระเป๋าเสมอ สําหรับค่าขนม และค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่จำเป็น ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองให้มา จึงทำให้ผู้ลักลอบค้ายาเสพติดมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดให้กับเยาวชน นั้นจะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ และใช้กลยุทธ์ในการขายแบบขายตรง(Direct sale) ใน กลุ่มเพื่อนสนิท และด้วยความเป็นเพื่อนสนิทจึงไม่กล้าเปิดเผยความผิดของเพื่อน และไม่กล้าปฏิเสธเพื่อน จึงทำให้การแพร่ระบาดยาเสพติดเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว จึงจำเป็นที่เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันกลลวงของผู้ค้ายาเสพติดที่จ้องจะดูดเงิน ค่าขนมในกระเป๋าของเยาวชนตลอดมา

ติดกีฬาก็มีความสุขได้ 

การเล่นกีฬาไม่ใช่เป็นแต่เพียงกิจกรรมทางเลือกที่เบี่ยงเบน ความสนใจของ เยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติดเท่านั้น                                  แต่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชื่อว่า การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬานั้นจะทำให้ต่อมไร้ท่อใต้สมองหลั่งสารเคมี ชนิดหนึ่ง               ชื่อ “เอนโดฟีน” ออกมา ซึ่งสารชนิดนี้ จะทำให้รู้สึกสดชื่น และเป็นสุข ผู้ที่ออกกำาลังกายอยู่เสมอจึงมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์                สมกับ  ที่กล่าวว่า “กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ” ดังนั้น จึงควรที่จะช่วยกันส่งเสริมให้เยาวชนได้ออกกำลังกายและเล่นกีฬา เพื่อให้มีสาร “เอนโดฟีน” อยู่ในร่างกายเกิดความสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด

ความเห็นถูกปิด